CEMS ย่อมาจาก Continuous Emission Monitoring System เป็นการวัดมลพิษที่ปล่องระบายแบบต่อเนื่อง ในกฏหมายประเทศไทย เริ่มประกาศใช้ครั้งแรกปี 2544 และมีการปรับแก้กฎหมายตามเทคโนโลยีและสถานการณ์เรื่อยมา โดยกฎหมาย CEMS ฉบับล่าสุด ประกาศใช้ปี 2565
CEMS แบ่งเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการเก็บตัวอย่าง คือ
1. CEMS แบบ Extractive type คือ เป็นการวัดแก๊สที่ปล่องระบายโดยดึงแก๊สลงมาวัดในเครื่องวัดแก๊ส (Gas Analyzer) แบ่งย่อยเป็น 2 ระบบ คือ Extractive Hot wet นิยมใช้เมื่อมีการวัดค่า HCl, HF, NH3 และ Extractive Cold Dry นิยมใช้กับการวัด CO, SO2, NOx, O2, CO2, CH4
2. CEMS แบบ In-situ type คือ การวัดค่ามลพิษในปล่องระบายที่จุดเก็บตัวอย่าง (Stack Sampling Point) แบ่งย่อยเป็น 2 ระบบคือ In-situ point stack และ In-situ cross stack
ทั้ง 2 ระบบ มีข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันไป การเลือกระบบ CEMS ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิต จะช่วยให้สามารถผ่าน RATA Test ตามกฏหมาย และลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง และการดูแลรักษา
Extractive CEMS แบบ Cold Dry คือ CEMS ที่ใช้การดึง Sampling Gas มาวัด โดยการดึง Sampling จะต้องมีการควบคุมความร้อนตั้งแต่ Heated Probe, Heated Line จนมาเปลี่ยนอุณหภูมิเป็นต่ำกว่าบรรยากาศ ที่ Gas Cooler ก่อนผ่านเข้า CEMS โดยในระหว่างนี้จะมีผ่านอุปกรณ์ควบคุมอื่นๆ ได้แก่ Sampling Pump, Flowmeter, Moisture Detector เป็นต้น เพื่อควบคุมให้ Gas ที่ต้องการวัดมีสภาพที่เหมาะสม และค่าไม่หายไปกับการควบคุมสภาพ จึงต้องมีการออกแบบให้ถูกต้องและเหมาะสมกับตัวอย่างแก๊สที่วัด ข้อดีของระบบนี้คือราคาไม่สูง แต่มีข้อด้อยคือ ต้องออกแบบให้เหมาะกับตัวอย่างแก๊ส เพราะอาจมีการสูญเสียค่าไปกับการควบแน่นของแก๊ส และต้องการดูแลรักษาอุปกรณ์หลายส่วน
ระบบ CEMS ประเภท Extractive แบบ Cold Dry จุดสังเกตที่เห็นชัดของระบบนี้คือ Gas Cooler ซึ่งมีหน้าที่ลดอุณหภูมิของ Gas ที่ถูกดึงเข้ามากก่อนเข้า Analyzer เมื่อ Gas Cooler เสีย ระบบ CEMS จะตัดการทำงานเพื่อป้องกัน Analyzer AWJ นำ Gas Cooler สำรอง เข้าติดตั้ง CEMS ให้ลูกค้า โรงไฟฟ้า เพื่อให้ระบบ CEMS ของลูกค้า ส่งข้อมูลเข้ากรมโรงงาน ไม่น้อยกว่า 85% ตามที่กฎหมายกำหนด กฎหมาย CEMS ของไทย โรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตไฟฟ้า 10 MW ขึ้นไป หรือหม้อไอน้ำขนาด 29 ตัน ขึ้นไป ต้องติดตั้งระบบ CEMS และ Opacity/Dust Analyzer และ Stack Flow meter